วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ค่าประมาณ

ค่าประมาณ

ในชีวิตประจำวันของนักเรียน อาจจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีปริมาณ หรือจำนวนมากๆ และบ่อยครั้งต้องอาศัยข้อมูลจาการคำนวณมาประกอบการตัดสินใจ เช่น หนูแดงได้เงินจากแม่มา 200 บาท เพื่อไปซื้อน้ำมันพืช 2 ขวด ราคาขวดละ 45 บาท และน้ำยาล้างจาน 3 ถุง ถุงละ 23 บาท เมื่อหนูแดงซื้อเสร็จกำลังจะไปจ่ายเงิน แต่เธอเห็นยาสีฟันชนิดที่ใช้อยู่ ลดราคาเหลือกล่องละ 42 บาท จึงคิดราคาน้ำมันพืช 2 ขวด ราคา 90 บาท น้ำยาล้างจาน 3 ถุง ประมาณ 60 บาท เหลือเงินประมาณ 50 บาท ปรากฏว่ามีเงินพอซื้อ เธอจึงนำสินค้าทั้งหมดไปจ่ายเงิน ตัวอย่างนี้เป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ ค่าที่ได้อาจไม่ใช่ค่าที่แท้จริง แต่ใกล้เคียงพอที่ตัดสินใจได้
ในทางคณิตศาสตร์ เรียกค่าซึ่งไม่ใช่ค่าที่แท้จริงแต่มีความละเอียดเพียงพอกับการนำไปใช้ว่า การประมาณ และเรียกการคำนวณที่ต้องการคำตอบอย่างรวดเร็ว ใกล้เคียง เหมาะสมกับการนำไปใช้ว่า การประมาณค่า ค่าที่ได้จากการประมาณและการประมาณค่า เรียกว่า ค่าประมาณ ( approximate value )

ตัวอย่าง
นรีไปเดินซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตแห่งหนึ่ง ได้รับใบเสร็จรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
ข้าวสารหอมมะลิ 1 ถุง ราคา 119.00 บาท
ผงซักฟอก 1 ถุง ราคา 87.50 บาท
น้ำมันพืช 1 ขวด ราคา 43.50 บาท
กระดาษชำระ 1 ห่อ ราคา 39.00 บาท
น้ำตาลทราย 1 ถุง ราคา 13.75 บาท
รวม 302.75 บาท
ราคาก่อนคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 281.56 บาท
รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 21.19 บาท
รวมทั้งสิ้น 302.75 บาท

จากใบเสร็จที่ใช้ ถ้าตรวจสอบว่าการคิดราคารวมของสินค้ามีความเป็นไปได้หรือไม่ อาจคำนวณได้ดังนี้
119.00 ประมาณเป็น 120
87.50 ประมาณเป็น 90
43.50 ประมาณเป็น 40
39.00 ประมาณเป็น 40
13.75 ประมาณเป็น 10
รวม 300
ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1470559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น