วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตรรกศาสตร์ (Elementary of Symbolic Logic)

ตรรกศาสตร์ (Elementary of Symbolic Logic)

ความหมายของตรรกศาสตร์

                คือ หลักเกณฑ์การคิดหาเหตุผล เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา มีมาตั้งแต่สมัยอริสโตเติล เพื่อทำให้ศึกษาตรรกศาสตร์ได้ง่ายขึ้น จึงใช้สัญลักษณ์ (Symbol) แทนข้อความ (Statement)



ความหมายของค่าความจริง (Truth Value)

                คือ ความที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ในสิ่งที่เรากล่าวถึง ค่าความจริง มี 2 ชนิดคือ

1.             1. ค่าความจริงที่เป็นจริง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ T (True) หรือแทนด้วยสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์เป็น 1

2.             2. ค่าความจริงที่มีค่าเป็นเท็จเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ F (False) หรือแทนด้วยสัญลักษณ์ไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์เป็น 0



ประพจน์ (Proposition)

                คือ ข้อความที่เป็นจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น อาจเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธที่มีค่าความจริงเป็นจริง หรือค่าความจริงเป็นเท็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

                องค์ประกอบของประพจน์ ประกอบด้วย ภาคประธาน+กริยาเชื่อมต่อ+ภาคลักษณะ (กรรม)

 การเชื่อมประพจน์

ตัวเชื่อมในทางตรรกศาสตร์มี5 ชนิด คือ

1. 1. ไม่, ไม่ใช่ (Not) ใช้สัญลักษณ์

2. 2. และ (And) ใช้สัญลักษณ์ ^

3. 3. หรือ (Or) ใช้สัญลักษณ์ v

4. 4. ถ้าแล้ว (If…then) ใช้สัญลักษณ์

5. 5. ก็ต่อเมื่อ (If and only if) ใช้สัญลักษณ์

 ตารางค่าความจริง(Truth table)

คือ ตารางที่แสดงค่าความจริงที่เป็นไปได้ทั้งหมดของประพจน์ ค่าความจริงในตารางจะมีกี่กรณีนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนประพจน์ คือ นำค่า 2 ยกกำลังจำนวนประพจน์

 ที่มาhttp://wanchai.hi.ac.th/3204-2003/Comsys4.htm








    




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น